วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ความจริง ความงาม ความดี


ภาพจาก http://www.flickr.com/photos/mamjodh/2462878725/sizes/z/in/pool-809956@N25/

ผมนั่งดูปรากฏการณ์ของสังคมไทยในช่วงนี้ ช่วงที่มีความขัดแย้งสูงมาก ผมเห็นพลังแห่งความเกลียดชังเลื่อนไหล ถั่งโถมโจมตีกันและกัน ประชุมชนของมนุษย์ทั้งสองข้างมีวาทะกรรมลดทอนความเป็นมนุษย์ของอีกฝ่ายหนึ่งลง ถ้อยคำซึ่งในเวลาปกติไม่ค่อยได้ยิน พรั่งพรูออกมาด้วยความเกลียดชังกันและกัน ไม่เห็นความเป็นมนุษย์ของอีกฝ่ายหนึ่ง 
ความเกลียดชังเช่นนี้แหละที่ถูกสร้างขึ้นมาจากผู้รู้ และนำมาสู่จินตนาการที่นำไปสู่การตัดสินโทษของอีกฝ่ายหนึ่ง ตัดสินด้วยความดูถูกดูแคลน และพยายามกำจัดฝ่ายตรงข้ามด้วยความกลัว ความเกลียดชังนี้เป็นต้นตอของพิษร้ายที่แท้จริง ที่นำคนให้มาประหัตประหารกัน ไม่เชื่อมต่อกัน ไม่ฟังกัน กีดกั้นความปราถนาที่จะอยู่ร่วมกัน ตัดขาดการเชื่อมต่อขาดสมดุลที่จะสร้างพลังในการอยู่ร่วมกันในความแตกต่่าง 
ความเกลียดชังที่สร้างจากการแข่งขัน เอาชนะ ต้องการเป็นผู้อยู่เหนือกว่า แพ้ไม่เป็น อภัยไม่ได้ รอไม่ได้ และไม่อดทน
ความเกลียดชังที่อยู่เหนือเหตุผล เป็นเพียงความรู้สึก เมื่อเราเพลิดเพลิน พร่ำถึง และดื่มด่ำ กับวาทะกรรมแห่งความเกลียดชังวันแล้ววันเล่า เราจึงละเลยไม่ได้ฉุกใจคิด เราดื่มด่ำ พร่ำถึงและเพลิดเพลินไปกับสิ่งนั้นจนเป็นเนื้อเดียวกับมัน จนมันเป็นความจริง ความดีและความงามที่เรายึดถือ ทำสัญญาไว้ว่าต่างจากที่เรายึดถือนั้นไม่ใช่สิ่งที่เป็นจริง ไม่ดีและไม่งาม ความเป็นเนื้อเดียวกันกับสิ่งนั้้นทำให้เราแปลกแยกจากมนุษย์ต่างฝ่ายออกไป เราปิดกั้นและปกป้องสิ่งที่เรายึดถือนั้นด้วยการกำจัดสิ่งแปลกแยกออกไป ทั้งที่ความเป็นจริงนั้นสิ่งนั้้นมีอยู่ มันอยู่ในตัวของเรานี่เองเพียงแต่เราไม่ได้สังเกต
เราไม่ชอบการกระทำบางอย่างของมนุษย์ฝ่ายตรงข้าม แต่พอถึงเวลาเรากระทำ การกระทำของเราก็ไม่ต่างจากเขา เรามีข้ออ้างแห่งความชอบธรรม ที่จะกระทำเช่นนั้นบ้างในนามแห่งความดีที่เรายึดถือ เราไม่ชอบการให้ร้ายแต่เราให้ร้ายผู้อื่น เราไม่ชอบความรุนแรงแต่เราใช้ความรุนแรง เราไม่ชอบให้ใครบังคับเราแต่เราบังคับผู้อื่น เราทำในนามแห่งความดีที่เรายึดถือ
ความจริงนั้นเป็นทุกข์ทับถมที่เราต้องอดทน อดทนด้วยการเห็นความงามในความเป็นจริงนั้น เพื่อสร้างความดีให้เป็นประโยชน์ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น 
ไม่มีสิ่งใดดีหรือไม่ดีด้วยตัวของมันเอง ความดีถูกสถาปนาขึ้นในใจเพื่อเป็นหลักยึดให้สร้างสิ่งที่เป็นประโยชน์ทั้งมวล ในท่ามกลางความเป็นจริงที่บีบคั้น เพื่อให้ชีวิตดำรงอยู่อย่างมีความหมาย ท่ามกลางความเป็นไปความพยายามในการควบคุมบังคับจะไม่มีผลถ้าเราไม่เข้าใจ เราจะไม่เข้าใจถ้าเราไม่เรียนรู้ เราจะไม่เรียนรู้ถ้าเราไม่สังเกต เราไม่สังเกตเพราะเราไม่เห็นมันปรากฏ เราไม่เห็นมันเพราะเราเป็นเนื้อเดียวกับมันอย่างแยกไม่ออก เราต้องหยุดและถอยออกมาดู ดูให้เห็น ไม่หลอมรวมเป็นเนื้อเดียวกับสิ่งที่เรายึดถือ
สังคมไทยได้มีปรากฏการณ์แห่งความเกลียดชังใหญ่ๆ เกิดขึ้นเป็นระยะ ครั้งแล้วครั้งเล่า ผ่านกาลเวลาที่ละเลยการเรียนรู้ เราไม่ได้เรียนรู้เพราะเราไม่ได้ทำความชัดเจนในสิ่งที่เกิดขึ้น กระบวนการค้นหาความจริงไม่ได้พูดทั้งหมดของสิ่งที่เกิดขึ้น เราสำแดงเฉพาะที่เราต้องการให้ปรากฏเท่านั้นซึ่งเป็นเศษเสี้ยวของความจริง เพราะเราไม่ยอมเจ็บปวดที่จะพบความจริงทั้งหมดเพียงครั้งเดียว แต่เรายอมที่จะเจ็บปวดครั้งแล้วครั้งเล่า และครั้งเดียวไม่เคยพอ เรากลบบางสิ่งไว้เพื่อที่จะพบว่า วันต่อมาเมื่อมันสำแดงตนอีกครั้งมันจะหนักหนาสาหัสยิ่งกว่าเก่า รุนแรงยิ่งกว่าเก่า แก้ไขยากกว่าเก่า สิ่งสำคัญมากกว่าการเรียนรู้ คือเจตนาที่จะเรียนรู้ หากเราไม่มีจิตจำนงที่แน่วแน่ที่จะรู้ให้ได้ เราจะไม่เริ่มเรียนรู้ 
หากเราไม่มีเจตนา จิตจำนงที่แน่วแน่ที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสันติเราจะไม่หาทางที่จะสร้างสันติขึ้นมา เพราะสันติต้องก่อตัวจากใจเราพร้อมด้วยการการทำที่มีเจตจำนงที่แน่วแน่ และผู้คนประจักษ์ชัด ตามเรามาด้วยการกระทำของเรามิใช่ด้วยวาทะกรรมของเรา
ผมเคยเห็นภาพมนุษย์ทำกับมนุษย์อย่างที่มนุษย์ในขณะที่ ความระลึกรู้ รู้สึกตัวทั่วพร้อม ความละอายและเกรงกลัวต่อบาปไม่ได้อยู่กับกายและใจของเขา ความเมตตา กรุณาหลีกเร้นจากใจที่ รังเกียจและกลัว เหตุดั่งนั้นมนุษย์กำจัดมนุษย์ หยามย่ำยีซากมนุษย์ อย่างกับซากมนุษย์นั้นมิเคยเป็นมนุษย์เช่นเดียวกับเขา หากเป็นขณะที่ ความระลึกรู้ รู้สึกตัวทั่วพร้อม ความละอายและเกรงกลัวต่อบาปอยู่กับกายและใจของเขา ความเมตตา กรุณา มุฑิตา และอุเบกขาทำงาน ความเข้าใจที่ปราศจากความอดทน มนุษย์ผู้กระทำนั้นคงจะมีการกระทำนั้นไม่ได้
มนุษย์ผู้ถูกกระทำ ได้ถูกลดทอนความเป็นมนุษย์ในสายตาของมนุษย์ผู้กระทำด้วย วาทะกรรม วาทะกรรมที่มนุษย์ผู้กระทำ เสพวันแล้ววันเล่า พลิดเพลิน พร่ำถึง และดื่มด่ำ จนเป็นสิ่งเดียวกับตัวตนของเรา วาทะกรรม ที่ลดทอนความเป็นมนุษย์นั้นสร้างจิตนาการให้แตกต่างจากความเป็นจริงที่ว่า เราต่างเป็นมนุษย์ด้วยกัน 
ผมเห็นความงดงามของความห่วงใยของญาติพื่น้องที่ตามหากัน นำมาทำประโยชน์ให้แก่ผู้ล่วงไปด้วยความปรารถนาให้เขาได้เป็นสุขอีกครั้งหนึ่ง โยงใยและถักทอของความห่วงใยสำแดงตนให้เราเห็นความเป็นมนุษย์ ผมเห็นความงามของกรรม ที่ค่อยๆ เผยตน เห็นการสำนึกรู้ ความมีกรรมเป็นของของตน มีกรรมเป็นผู้ให้ผล มีกรรมเป็นผู้ติดตาม มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย ... 
ผมหวังว่าปัญญาแห่งมนุษยชาติ จะทำให้เกิดถ้อยความแห่งรักใคร่ ในมนุษย์ทั้งหลาย

ขอตั้งจิตนอบน้อมต่อสรรพสิ่ง
ขอให้ความงดงามของสรรพสิ่ง ได้เป็นพล้งส่งให้สรรพธาตุรู้มีกำล้งสร้างสรรค์ความมีประโยชน์ เพื่อเผชิญความจริงหี่กดทับในห้วงหุกข์ทน
ตุ๊ดตู่ ร่าเริง

ก่อนถ้อยความนี้ ปัญญาแห่งมนุษยชาติ
และ ถ้อยความแห่งรักใคร่

วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ถ้อยความแห่งรักใคร่

ขอตั้งจิตนอบน้อมต่อสรรพสิ่ง
ขอให้ความงดงามของสรรพสิ่ง ได้เป็นพล้งส่งให้สรรพธาตุรู้มีกำล้งสร้างสรรค์ความมีประโยชน์ เพื่อเผชิญความจริงหี่กดทับในห้วงหุกข์ทน
ขอความงดงามมีพลังแปรเปลี่ยนถ้อยคำแห่งความเกลียดชัง เป็นถ้อยความแห่งรักใคร่

ผมถามตัวเองว่า "ในใจนั้นมีความเป็นกลาง อยู่กับความเป็นจริง เห็นทุกสิ่งธรรมดา ทำงานไปอย่างเป็นงานของชีวิต เป็นมิตรกับสรรพสิ่งและสรรพธาตุรู้ อยู่กับวาทะปรามาส และชมเชยอย่างสร้างสรร ใช่ไหม"
ตอบและเตือนตนเองเสมอ ให้ตั้งมั่นเช่นนั้น

เหตุการณ์ปัจจุบันผมเห็นถ้อยคำแห่งความเกลียดชัง กระจายไปสู่ผู้คนอย่างรวดเร็ว การตัดสิน ดูถูกเหยียดหยาม และความกลัว มีพลัง พลังอันปราศจากสติ และปัญญาควบคุมความมุ่งทำลายล้างสิ่งที่ถูกตัดสิน ดูหมิ่นเหยียดหยาม รังเกียจและกลัว ไม่เห็นความเป็นมนุษย์ของมนุษย์ขั้วตรงข้าม เพราะมนุษย์ขั้วตรงข้ามถูกวาทะกรรม ของคนชั้นนำกดกลืนให้ต่ำ จนไม่มีความเป็นมนุษย์ ในขั้วตรงข้าม สร้างความชอบธรรมที่จะทำลายให้ไม่มีอยู่ในชีวิต ทำลายชีวิตเพื่อยังชีวิต

ปกติเราถูกสภาวะความจริงเช่นนี้กระทำอยู่เสมอ เราเผชิญกับสิ่งนั้นๆ อย่างไม่ได้ฉุกคิดไม่เฉลียวใจ ในสิ่งที่ยึดถือ ยึดและถือด้วยสภาวะที่สังคมที่หล่อหลอมมาว่าต้องเป็นเช่นนั้น เราถูกหล่อหลอมมาด้วยความเชื่อไม่ใช่ด้วยความคิด ชุดความคิดของเราถูกสร้างขึ้นมาตั้งแต่เรายังไม่มีกระบวนคิด แล้วเราก็ละเลย ไม่สงสัยในชุดความคิดที่ที่เรายึดถือ เราจึงไม่พ้นไปจากการชักจูงจากความเชื่อ เราไม่เคยตระหนักในชุดความคิดอื่นที่พ้นไปจากชุดความคิดที่เราได้รับการปลูกฝังมา ชนชั้นนำอีกกลุ่มก็สร้างชุดความคิดอื่นขึ้นมาเช่นกัน ด้วยการหล่อหลอมนั้นชุดความคิดต่างๆ ก็เติบโตมาพร้อมกับชุดความคิดของเรา ชุดความคิดมากมายถูกสร้างขึ้นมาเช่นนี้ แต่เราไม่ได้สนใจความแตกต่างเหล่านั้นเพราะชุดความคิดของเรากดทับความสงสัยของเราไว้ เมื่อชุดความคิดต่างๆ ปะทะกัน เราไม่มีที่หยัดยืนให้ในความคิดของเรา เราไม่ศึกษาไม่ให้พื้นที่ปลอดภัยที่จะให้ความคิดต่างมีพื้นที่ปรากฏตน เราตัดสิน ดูุถูกเหยียดหยาม และกลัวความคิดต่างนั้น เราไม่ได้อยู่กับความเป็นจริง เราไร้เมตตาที่จะให้ความคิดต่างได้หยัดยืน เราฆ่าตัดตอนในขณะที่เราประณามการฆ่าตัดตอน

เราไม่เรียนรู้เพราะเราไม่เห็นในสิ่งที่เราทำ เราไม่คิดในสิ่งที่เราเห็น เราไม่พูดในสิ่งที่เราคิด และสุดท้ายเราไม่ทำในสิ่้งที่เราพูด

เมื่อจิตที่ไร้เมตตาปรากฏ กรุณา มุฑิตา อุเบกขา ก็ไม่เผยตนได้
ผมได้ทำตามที่ผมพูด ผมเห็นในสิ่้งที่ผมทำ ผมคิดตามที่ผมเห็น และผมพูด(เขียน)ตามที่ผมเห็น

ขอตั้งจิตนอบน้อมต่อสรรพสิ่ง
ขอให้ความงดงามของสรรพสิ่ง ได้เป็นพล้งส่งให้สรรพธาตุรู้มีกำล้งสร้างสรรค์ความมีประโยชน์ เพื่อเผชิญความจริงหี่กดทับในห้วงหุกข์ทน

ขอความงดงามมีพลังแปรเปลี่ยนถ้อยคำแห่งความเกลียดชัง เป็นถ้อยความแห่งรักใคร่ เพื่อสรรพธาตุรู้จะได้สร้างสรรค์สรรพสิ่งที่มีประโยชน์ ท่ามกลางความจริงที่ทุกข์ทน

ก่อนถ้อยความนี้ ปัญญาแห่งมนุษยชาติ
ท่อนต่อจากถ้อยความนี้ ความจริง ความงาม ความดี

วันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ชาติและแผ่นดิน ความจริง ผลประโยชน์


พระวิหารชี้ชะตา?

ความคิดเห็นจาก เสข วรรณเมธี อธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ 
และมรกต เจวจินดา ไมยเออร์ จากสถาบันนานาชาติ ปรีดี พนมยงค์



10 พฤศจิกายน 2556 


งานแถลงข่าว "คำตัดสินศาลโลก : คดีตีความปราสาทพระวิหาร"


วันอังคารที่ 12 พฤศจิกายน 2556 เวลา 13.30 น. ณ ห้อง 202 อาคารจามจุรี 4 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงานแถลงข่าวเรื่อง "คำตัดสินศาลโลก: คดีตีความปราสาทพระวิหาร" เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับคำตัดสินของศาล­โลกที่ได้ตีความคดีปราสาทพระวิหารและท่าที­ของประเทศไทยหลังคำตัดสินดังกล่าว โดยมีผู้ร่วมแถลงข่าว ประกอบด้วย ศ.นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีจุฬาฯ ศ.ดร.นันทวัฒน์ บรมานันท์ คณบดีคณะนิติศาสตร์ ศ.ดร.ชุมพร ปัจจุสานนท์ คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายระหว่างประเทศ ศ.ดร.ไชยวัฒน์ ค้ำชู คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ผู้เชี่ยวชาญด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเท­ศ และ รศ.ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม­เอเชียตะวันออกเฉียงใต้


เบื้องหลังคดีพระวิหาร


นายวีระชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูตไทย กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ หัวหน้าคณะต่อสู้คดี 
นายณัฏฐวุฒิ โพธิสาโร รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ร่วมกันชี้แจงผลของคำพิพากษาศาลโลก 
โดยมี ดร.ชุมพร ปัจจุสานนท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายระหว่างประเทศ ดำเนินรายการ


รายการ Intelligence ประจำวันที่ 16 พฤศจิกายน 2556


ฟังทัศนะของ 
พนัส ทัศนียานนท์ อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 
และ
ไชยวัฒน์ ค้ำชู อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


รายการ Intelligence ประจำวันที่ 17 พฤศจิกายน 2556