วันอาทิตย์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556

เหตุสมควรโกรธไม่มีในโลก

ขอขอบคุณ ภาพจาก มติชนออนไลน์
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1372475172&grpid=00&catid=&subcatid=

เมื่อตอนพระอาจารย์มิตซูโอะ ได้ลาสิกขาใหม่นั้น ให้อัศจรรย์ใจเป็นที่ยิ่ง เพราะโดยส่วนตัวแล้วชอบธรรมะที่ท่านเคยเทศนา และจำไว้ประจำใจคือ เหตุสมควรโกรธไม่มีในโลก 
เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2556 มีข่าวท่านลาสิกขาแล้ว ได้อ่านข่าวและรู้สึกธรรมดา แต่มีคนให้ความเห็นมากมายทั้งทางดีและไม่ดี
อึ้ง-พระอาจารย์มิตซูโอะ-คเวสโก-สึกแล้ว-หลวงพ่อมิตซูโอะ-ลาสิขาแล้ว อันนี้ตอนสึกใหม่ ต่อมาเป็น ข่าวเมื่อวันที่ 11 มิ.ย. หลังลาสิกขา  3 วัน ต่อมา มีเหตุการณ์ต่อเนื่องว่าสึกไปแต่งงาน แล้วกระแสวิพากษ์วิจารณ์ก็ตามมา เช่น อันนี้พระพยอมให้ความเห็น อันนี้เป็นเรื่องราวจากวัด
อันนี้เป็นเรื่องการจดทะเบียน และลายมือ ทิดมิตซูโอะ  อันนี้เป็นข่าวต่อเนื่องหลังจดทะเบียนสมรส ข่าวต่างๆ คลิกตาม link ไปดูเองนะครับ นี่ผมยังไม่ได้ link ที่มีความเสียหายด่าทอหนักๆมาด้วย ถ้าต้องการโปรดหาเองนะครับ
พอสรุปได้ว่าเหตุการณ์ที่มีนั้นคือ ทิดมิตซูโอะ ลาสิกขา เพื่อไปสมรสกับคุณแอน โดยจดทะเบียนสมรสที่บ้านทิดมิตซูโอะ โดยทิดให้เหตุผลว่า เป็นคู่บารมี จากเหตุการณ์นั้นเนื่องจากทิดเป็นพระอาจารย์ดังสั่งสอนธรรมะ มีสำนักสอนปฏิบัติและงานเขียนมากมาย ทำให้สังคมออกมาพูดถึง
ในเรื่องที่มา เหตุผล เราทุกคนไม่รู้ได้ และความรู้เช่นนั้นมีประโยชน์กับเราหรือไม่ เราในที่นี้คือคนต่างๆ ในสังคม  เหตุการณ์นี้ก็เป็นเพียงข่าวสารหนึ่ง พระพุทธองค์ให้พระสูตรที่มีประโยชน์กับเราไว้สูตรหนึ่ง ชื่อ เกสปุตตสูตร หรือที่เรารู้จักว่า กาลามสูตร ความส่วนหนึ่งว่า ดังนี้


เกสปุตตสูต (จาก http://84000.org ขอบพระคุณไว้ ณ ที่นี้)
...
ดูกรกาลามชนทั้งหลาย เราได้กล่าวคำใดไว้ว่า ดูกรกาลามชนทั้งหลายมาเถอะท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำที่ได้ยินได้ฟังมา อย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำสืบๆ กันมา อย่าได้ยึดถือโดยตื่นข่าวว่า ได้ยินว่าอย่างนี้ อย่าได้ยึดถือโดยอ้างตำรา อย่าได้ยึดถือโดยเดาเอาเอง อย่าได้ยึดถือโดยคาดคะเน อย่าได้ยึดถือโดยตรึกตามอาการ อย่าได้ยึดถือโดยชอบใจว่าต้องกันกับทิฐิของตน อย่าได้ยึดถือโดยเชื่อว่าผู้พูดสมควรเชื่อได้ อย่าได้ยึดถือโดยความนับถือว่าสมณะนี้เป็นครูของเรา
เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล ธรรมเหล่านี้ไม่มีโทษ ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้สรรเสริญ ธรรมเหล่านี้ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข เมื่อนั้นท่านทั้งหลายควรเข้าถึงธรรมเหล่านั้นอยู่ เพราะอาศัยคำที่เราได้กล่าวไว้แล้วนั้น เราจึงได้กล่าวไว้ดังนี้
ดูกรกาลามชนทั้งหลาย อริยสาวกนั้น ปราศจากความโลภ ปราศจากความพยาบาท ไม่หลงแล้วอย่างนี้ มีสัมปชัญญะ มีสติมั่นคง มีใจประกอบด้วยเมตตา แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกข์เหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจอันประกอบด้วยเมตตาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ มีใจประกอบด้วยกรุณา ... มีใจประกอบด้วยมุทิตา ... มีใจประกอบด้วยอุเบกขาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกันตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลกทั่วสัตว์ทุกเหล่านที่ทุกสถาน ด้วยใจอันประกอบด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่หาประโยชน์มิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่
ดูกรกาลามชนทั้งหลายอริยสาวกนั้นมีจิตไม่มีเวรอย่างนี้ มีจิตไม่มีความเบียดเบียนอย่างนี้ มีจิตไม่เศร้าหมองอย่างนี้มีจิตผ่องแผ้วอย่างนี้ ย่อมได้รับความอุ่นใจ ๔ ประการในปัจจุบันว่า
ก็ถ้าปรโลกมีจริง ผลวิบากของกรรมทำดีทำชั่วมีจริง เหตุนี้เป็นเครื่องให้เราเมื่อแตกกายตายไป จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดังนี้ ความอุ่นใจข้อที่ ๑ นี้ พระอริยสาวกนั้นได้แล้ว
ก็ถ้าปรโลกไม่มี ผลวิบากของกรรมทำดีทำชั่วไม่มี เราไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีทุกข์เป็นสุข บริหารตนอยู่ในปัจจุบันนี้ ดังนี้ ความอุ่นใจข้อที่ ๒ นี้ พระอริยสาวกนั้นได้แล้ว 
ก็ถ้าเมื่อบุคคลทำอยู่ ชื่อว่าทำบาป เราไม่ได้คิดความชั่วให้แก่ใครๆ ไหนเลยทุกข์จักมาถูกต้องเราผู้ไม่ได้ทำบาปกรรมเล่า ดังนี้ ความอุ่นใจข้อที่ ๓ นี้ พระอริยสาวกนั้นได้แล้ว
ก็ถ้าเมื่อบุคคลทำอยู่ ไม่ชื่อว่าทำบาป เราก็ได้พิจารณาเห็นตนว่าเป็นคนบริสุทธิ์แล้วทั้งสองส่วน ดังนี้ความอุ่นใจข้อที่ ๔ นี้ พระอริยสาวกนั้นได้แล้ว 
ดูกรกาลามชนทั้งหลาย อริยสาวกนั้นมีจิตไม่มีเวรอย่างนี้มีจิตไม่มีความเบียดเบียนอย่างนี้ มีจิตไม่มีเศร้าหมองอย่างนี้ มีจิตผ่องแผ้วอย่างนี้ ย่อมได้รับความอุ่นใจ ๔ ประการนี้แลในปัจจุบัน ฯ

ตรงนี้เองหากเราเห็นว่าสิ่งใดเป็นประโยชน์ควรน้อมนำมาปฏิบัติ สิ่งใดไม่เป็นประโยชน์ก็ควรละเสีย ความขวนขวายในโลกสี่ประการควรประกอบด้วยจิตตั้งมั่นคือ การละทิ้งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ที่มีในตน การรักษาสิ่งที่เป็นประโยชน์ในตนให้คงอยู่ การขวนขวายหาสิ่งที่เป็นประโยชน์ที่ตนยังไม่มีให้บังเกิดขึ้นในตน และสุดท้ายให้ระวังสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ที่ตนไม่มีแต่มีในโลกต้องระวังไม่ให้เข้ามาในตน
เราทุกคนต้องเรียนรู้เองครับ

สุดท้ายส่งท้ายด้วยบทสัมภาษณ์ พระไพศาล วิสาโล ท่านก็บวชมานานแล้วเช่นกัน
อันนี้เป็นความเห็นพระไพศาล วิสาโล เกี่ยวกับการบวชของพระไพศาลเอง

“- ประเด็นสุดท้ายแล้ว ที่เคยบอกว่าไม่เคยคิดจะบวชตลอดชีวิต วันนี้ยังคิดแบบนั้นอยู่หรือไม่

พพศ. ไม่มีอะไรแน่นอน ถ้าเลือกได้ก็อยากบวชไปตลอด แต่คนที่อยู่ในวงการพระเขาจะรู้ว่าไม่มีอะไรแน่นอน บางคนก็สึกเมื่อแก่ เหตุปัจจัยมันก็เยอะ เช่น ป่วย ไม่สบาย หรือปิ๊งใครบางคน หรือสารพัดปัญหา เซ็งชีวิตพระ มันเป็นได้ทั้งนั้น
- คิดจะบวชปฏิบัติธรรมจนหลุดพ้นจากโลกวุ่นวายบ้างไหม
พพศ. อยาก เคยคิด แต่ยังเป็นห่วงในเรื่องสังคมอยู่
- ยังตัดทางโลกไม่ได้
พพศ. ยังไม่คิดจะตัด เพราะเรายังอยากช่วยสังคมอยู่"

สำหรับผมเหตุการณ์นี้ได้นำให้ผมเห็นถึง การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ชัดเจนในใจครับ



1 ความคิดเห็น:

  1. ง่าย ลัด และสั่นครับ ท่านให้ถืออุเบกขาครับ
    แต่อุเบกขานี้เป็นอุเบกขาในโพฌชงค์เจ็ดครับ

    ตอบลบ